สภาพทางเศรษฐกิจ
การเกษตรกรรม
- การเพาะปลูก เป็นเกษตรกรรมหลักใช้พื้นที่รอบ ๆ ชุมชนส่วนใหญ่จะปลูกผลไม้ (เงาะ, ทุเรียน,
มังคุด, ลองกอง) การทาสวนยางพารา สวนมะพร้าว สวนปาล์ม มะม่วงหิมพานต์ และ
นอกจากนี้เกษตรกรยังนิยมปลูกแตงโมกันอย่างแพร่หลาย สามารถทาเงินรายได้ปีละจานวน
มาก
- การประมง การเลี้ยงปลาน้าจืดเป็นสัตว์น้า เล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่เชิงพาณิชย์
การอุตสาหกรรม
การประกอบการอุตสาหกรรม นอกจากโรงน้าแข็ง ก็เป็นอุตสาหกรรมย่อย ๆ ประเภท ซ่อม
(เครื่องยนต์, รถยนต์, จักรยานยนต์, เครื่องไฟฟ้า (ฯลฯ)
การพาณิชย์
การพาณิชย์ส่วนใหญ่ อยู่สองฟากทางหลวงแผ่นดินประมาณ ๖ กิโลเมตร ส่วนใหญ่เป็นร้านขาย
ของชา รองลงไปเป็นการขายอาหารและเครื่องดื่ม อาจแยกได้ดังนี้
- ร้านค้าเครื่องชา 70 ร้าน
- ร้านอาหาร-เครื่องดื่ม 50 ร้าน
(โดยมีร้านอาหารที่จดทะเบียนจานวน)25 ร้าน
- ร้านจาหน่ายโทรศัพท์มือถือ 10 ร้าน
- ร้านเสื้อผ้า15 ร้าน
- ร้านเสริมสวย 20 ร้าน
- ร้านอุปกรณ์ไฟฟ้า-วิทยุ 8 ร้าน
- ร้านสินค้าอื่น ๆ 104 ร้าน
นอกจากนี้ มีตลาดนัดเอกชน 1 แห่ง เป็นแหล่งชื้อขาย แลกเปลี่ยนสินค้าเกษตร และของใช้ราคา
ถูก จัดขึ้นทุกวันอังคารและวันเสาร์ ปัจจุบันเทศบาลได้ก่อสร้างตลาดสดเทศบาลและตลาดกลางสินค้า
พื้นเมืองแล้วเสร็จ และเนื่องจากสภาวะทางเศรษฐกิจและความต้องการของประชาชนทาให้เทศบาลตาบล
คุระบุรี ได้ดาเนินการเปลี่ยนแปลงพื้นที่เป็นศูนย์บริการการท่องเที่ยวของเทศบาลตาบลคุระบุรี ซึ่งเริ่ม
ดาเนินการได้ในเดือนธันวาคม 2553 จนถึงปัจจุบัน
การบริการ
ในเขตพื้นที่มีกิจการบริการเพื่ออานวยความสะดวกแก่ประชาชน ดังนี้
- มีสถานบริการจาหน่ายน้ามัน ๑ ปั๊ม เปิดบริการเวลา ๐๕.๓๐ ๒๒.๐๐ น.
- มีธนาคารบริการใช้สินเชื่อ ฝาก ถอน กู้ยืมรวม ๓ แห่ง คือธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสินและ
ธนาคาร เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
- มีสถานีบริการรถร่วม บขส. จานวน ๑ แห่ง อยู่ในศูนย์บริการการท่องเที่ยวเทศบาลตาบลคุระบุรี
- มีสถานบริการเริงรมย์ประเภทร้านอาหาร คาเฟ่ และคาราโอเกะ 10 แห่ง
- มีโรงแรม ที่พัก รีสอร์ท สาหรับบริการนักท่องเที่ยวรวม ๑5 แห่ง
การท่องเที่ยว
ในเขตพื้นที่ ไม่มีแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติ และโบราณสถาน
ใดๆ จะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเฉพาะในช่วงวันหยุด หรือช่วงเทศกาล ซึ่งจะมีรถรับส่งนักท่องเที่ยวไปหมู่เกาะ
สุรินทร์และสิมิลัน เกาะระ เกาะพระทอง มาพักรอรับในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวจานวนมาก